หลังจากที่นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการการท่องเที่ยวและกีฬาเปิดเผยว่า ในวันที่ 1 เมษายน 2565 จะเป็นวันดีเดย์เริ่มเก็บค่าเหยียบแผ่นดินจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติคนละ 300 บาท
โดยเงินในส่วนนี้จะถูกนำไปใส่ในกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ ซึ่งตั้งขึ้นตามพ.ร.บ. นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ 2562 ฉบับปรับปรุง และจะนำเงินในส่วนนี้มาใช้ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและทำประกันให้กับนักท่องเที่ยว
ซึ่งมีการแจกแจงการใช้เงินค่าเหยียบแผ่นดินจำนวน 300 บาท ต่อคนไว้ดังนี้
1.เก็บ 50 บาท เพื่อนำไปซื้อประกันภัยสำหรับนักท่องเที่ยว
2.ส่วนที่เหลือ 250 บาทนำไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศ เช่นการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น
สำหรับรูปแบบการเรียกเก็บเงินค่าเหยียบแผ่นดินนั้น ทาง ททท. ได้ประสานกับทางสายการบินต่างๆ ให้จัดเก็บเงินส่วนนี้รวมกับค่าตั๋วเครื่องบินสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งคาดว่าน่าจะดำเนินการเรียบร้อยทุกสายการบินในช่วงเดือนมีนาคม 2565 นี้
คาดว่าการเก็บค่าเหยียบแผ่นดินนี้จะมีรายได้ในส่วนนี้เข้าสู่ประเทศไทยประมาณ 1.5 พันล้านบาท ซึ่งคำว่าค่าเหยียบแผ่นดินนี้ อาจจะฟังดูไม่คุ้นหูเท่าใดนักสำหรับประเทศไทย แต่จริงๆ แล้วค่าเหยียบแผ่นดินนั้นถูกเรียกเก็บในหลายๆ ประเทศ แต่จะมาในรูปแบบที่รวมกับค่าตั๋วเครื่องบิน หรือค่าห้องพักไปแล้ว ส่วนจะมีประเทศไหนที่มีการเรียกเก็บเงินค่าเหยียบแผ่นดินกันบ้างลองไปดูกันครับ
1.สหรัฐอเมริกา
หลายๆ รัฐในสหรัฐอเมริกา มีการเก็บภาษีการเข้าพัก ทั้งในโรงแรมขนาดเล็กและโรงแรมขนาดใหญ่ โดยมีอัตราการเรียกเก็บที่แตกต่างกัน ซึ่งมีอัตราเรียกเก็บที่สูงที่สุดถึง 17% เลยทีเดียว
2.ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นมีการเรียกเก็บภาษีซาโยนาระ โดยจะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 1,000 เยน (300 บาท) ที่นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเมื่อเดินทางออกนอกประเทศ
3.เยอรมันนี
เยอรมันนีมีการเรียกเก็บภาษีวัฒนธรรมและภาษีเตียง ในเมืองใหญ่ต่างๆ โดยจะมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 5% จากบิลของโรงแรม
4.สวิตเซอร์แลนด์
ภาษีที่ถูกเรียกเก็บของนักท่องเที่ยวจะแตกต่างกันออกไปตามโลเคชันของที่พัก ยิ่งที่พักเล็กก็จะยิ่งถูกเก็บในราคาถูกลง โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 2.50 ฟรังก์สวิส (ประมาณ 90 บาท)
5.สเปน
สถานที่บางแห่งในสเปนนักท่องเที่ยวจะถูกเรียกเก็บภาษีสำหรับนักท่องเที่ยวประมาณ 4 ยูโร (150 บาท) ต่อคน ต่อวัน
6.กรีซ
การเก็บภาษีนักท่องเที่ยวในกรีซจะอิงตามจำนวนดาวของโรงแรมที่นักท่องเที่ยวเข้าพักและจำนวนห้องที่เช่า มีตั้งแต่ 0.5 ยูโร – 4 ยูโร (ประมาณ 19 – 125 บาท) ต่อห้อง
7.มาเลเซีย
มาเลเซียเรียกเก็บค่าภาษีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 10 ริงกิตมาเลเซียต่อคน คิดเป็นเงินไทยประมาณ 81 บาท
8.อินโดนีเซีย
อีกหนึ่งประเทศที่มีการเรียกเก็บภาษีนักท่องเที่ยว โดยในเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีการเรียกเก็บภาษีนักท่องเที่ยว 10 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 330 บาท)
More Stories
น้ำตกไทรคู่ จุดท่องเที่ยวลับเมืองประจวบ ความสวยงามที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก
ทำเล็กๆ ก็ได้นิ! ร้านเนื้อแท้ จัดทำป้ายโฆษณารูปแบบใหม่ที่ดูแล้วคุ้นตามาก
ไอคอนสยาม จัดงาน “The ICONIC Songkran Festival 2022” สงกรานต์นี้ห้ามพลาด!